แผนที่พลังงานที่ชุมชนร่วมสร้าง

การจะไปให้ถึงจุดหมาย ต้องมีแผนที่เป็นเครื่องมือนำทาง แล้วอะไรจะดีไปกว่าแผนที่ที่ทุกคนช่วยกันสร้างเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการวางแผนพลังงานชุมชนของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โครงการเกาะพลังงานสะอาด ขอชวนไปเรียนรู้เรื่องของแผนที่การใช้พลังงานของชุมชน(Community Energy Maps) ที่เกิดจากความร่วมมือ ระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ภาครัฐ และภาคประชาชน 

ทำไมต้องมีแผนที่พลังงาน  มีแผนที่พลังงานแล้วมีประโยชน์อย่างไร

โครงการเกาะพลังงานสะอาด เมื่อเริ่มต้นโครงการในเดือน ตค. 2562 นั้น หนึ่งในยุทธศาสตร์ของแผนงานที่โครงการให้ความสำคัญ คือการศึกษารูปแบบการผลิตและใช้พลังงานที่เหมาะสมของพื้นที่ชุมชนเกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา  เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน  โดยทีมงานนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมีพลังหลัก กำลังสำคัญคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลพลังงานของทุกครัวเรือนด้วยแบบสอบถาม เพื่อนำมาวิเคราะห์เป็นแผนที่การใช้พลังงานของชุมชน(Community Energy Maps)

 

การสำรวจข้อมูลการใช้พลังงานของอำเภอเกาะยาวนั้น เป็นการสำรวจข้อมูลทั้งในปัจจุบัน และความต้องการใช้พลังงานของชุมชนในอนาคต ครอบคลุมประเภท ปริมาณของพลังงานในครัวเรือน และรายจ่ายในการจัดหาพลังงานของแต่ละประเภทของทุกครัวเรือน รวมถึงสำรวจข้อมูลศักยภาพพลังงานทดแทนรูปแบบต่างๆ ทั้งในด้านสาธารณูปโภค การประกอบอาหาร และการประกอบอาชีพ และการคมนาคม ขนส่งในรูปแบบต่างในเกาะยาวน้อย

แผนที่พลังงาน

1.1

พลังสำคัญจากชาวอสม.ทั้งหมดกว่า 45 คน จากทุกตำบล ที่ร่วมมือช่วยกันเก็บข้อมูลนั้น ผ่านการอบรม ได้รับความรู้เรื่องพลังงานทางเลือกและประโยชน์ของแผนที่พลังงานมาเป็นอย่างดี เพื่อให้การเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลของแผนที่พลังงานนั้นมีความถูกต้อง แม่นยำ 

46
47
48
49 scaled

วิวา อุปมา –  จ๊ะเราะ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย  เป็นหนึ่งในทีมงานจากภาครัฐที่มีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูล  จ๊ะเราะเป็นหัวหน้าทีมที่แข็งขันที่นำทีมอสม.ออกไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากชาวบ้าน   ในขณะที่ศิรสิทธิ์ ชลหัตถ์ ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะยาว หนึ่งในตัวแทนภาคธุรกิจ ก็มีส่วนร่วมในขั้นตอนนี้เช่นกัน  บังสิทธิ์ให้รายละเอียดเสริมว่าข้อมูลที่ไปสอบถามจากครัวเรือนนั้นมีหลายด้าน อาทิ การใช้พลังงานมีอะไรบ้าง  แบ่งเป็นแบบที่ 1 ใช้ไฟฟ้า หรือแบบที่2 ใช้เชื้อเพลิง แล้วใช้กี่จุด  มีอะไรบ้าง  ใช้กี่โวลต์กี่วัตต์  ใช้วันละกี่ชั่วโมง  ไปจนถึงการใช้เชื้อเพลิง ใช้กี่ลิตร ลิตรละกี่บาท       

รศ.ดร.อุสาห์ บุญบำรุง  นักวิจัยด้านพลังงานทดแทน   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี หัวหน้าทีมผู้ดูแลการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอข้อมูลสรุปในที่ประชุมของการส่งมอบข้อมูลแผนที่พลังงานพร้อมแนวทางการบริหารกลับสู่ชุมชน เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ 2563 ที่ผ่านมา ว่า

“  เราได้ข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 3,591 ครัวเรือน นำมาประมวลผลให้เป็นแผนที่พลังงาน (Energy map) ซึ่งจริงๆก็คือการทําบัญชีรายรับรายจ่ายด้านพลังงานที่สามารถดูได้ทั้งรายเดือน รายชุมชน แล้วก็มองเป็นภาพรวมของจังหวัดได้ด้วย  ข้อมูลที่เราได้จากแบบสอบถามที่เข้าไปสำรวจก็จะอยู่ในรูปของตารางไฟล์เอกเซล  แล้วเอาตัวเลขตรงนั้นมาพล็อตในรูปแผนที่”

.อุสาห์ scaled
15

อาจารย์อุสาห์ ยังได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า “ จากการสำรวจพบว่า ปัจจุบันชาวบ้านในพื้นที่เกาะยาวน้อยเสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อพลังงานคิดเป็น 30 % ของรายจ่าย  เราก็เลยมาหาพลังงานทดแทน เป็นพลังงานทางเลือกมาช่วยในเรื่องนี้ที่จะลดรายจ่ายในส่วนนี้  จากการศึกษาพบว่ามีพลังงานอยู่ 2 ประเภทที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้  อย่างแรกที่เห็นผลและคืนทุนเร็วคือพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถคืนทุนได้เร็ว ประมาณ  4 ปีและอีกส่วนคือก๊าซชีวภาพ ที่นำมาทดแทนการนำเข้าก๊าซแอลพีจี ซึ่งต้องศึกษาในรายครัวเรือนอีกครั้ง”  

นิติกร นันทวิโรจน์สิริ  วิศวกร  CESi มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทีมงานนักวิจัยนำชุดข้อมูลทั้งหมดจากการสำรวจมาวิเคราะห์  นิติกรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า

“จากการวิเคราะห์การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้  ในพื้นที่ที่มีไฟฟ้าเข้าถึง ระบบที่เหมาะสมคือระบบที่เชื่อมต่อกับสายส่งไฟฟ้า  เมื่อคิดเวลาของระบบ 10 ปี ถ้าเป็นระบบการใช้ไฟทดแทนในช่วงกลางวันแค่ 4 ปี ก็สามารถคืนทุนได้แล้ว  จากปัจจุบันชาวบ้านมีค่าใช้จ่ายค่าไฟประมาณ 3.8 บาท/ยูนิต  ในช่วงที่ใช้พลังงานทดแทน ค่าใช้จ่ายก็จะลดลงเหลือประมาณ 1 บาทกว่าๆ   จึงสรุปได้ว่าการใช้พลังงานทดแทนมีความน่าสนใจในการลงทุน”

เมื่อถามถึงประโยชน์ด้านอื่นๆที่ได้จากการจัดทำแผนที่พลังงาน  อาจารย์อุสาห์บอกว่า 

“ผลที่ได้จากการทำ Energy Map สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายมาก เพราะข้อมูลจะสามารถวิเคราะห์ว่าบ้านหลังนี้มีศักยภาพพลังงานทดแทนอะไรบ้าง  บ้านนี้เขาไม่ได้มีการเลี้ยงสัตว์ เขาไม่ได้มีแหล่งพลังงานอื่น  มีเฉพาะแสงอาทิตย์  แผนที่พลังงานก็จะมาวิเคราะห์ให้ว่า ถ้าเราจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เราอยากลดค่าไฟฟ้าสักครึ่งหนึ่ง  เราต้องลงทุนเท่าไหร่  คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์เซลล์กี่บาทต่อยูนิต จ่ายถูกหรือแพงกว่าไฟฟ้าของการไฟฟ้า  และจะคืนทุนกี่ปี  ขณะที่ในส่วนของหน่วยราชการที่มีแนวทางที่จะส่งเสริม สนับสนุนชุมชน ก็จะมีแนวทางที่ชัดเจนว่าควรจะส่งเสริมพลังงานประเภทไหนที่จะคุ้มทุนมากที่สุด”

“ปัจจุบันเทคโนโลยีพลังงานทดแทนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น  ราคาลดลง ราคาสามารถแข่งขันกับพลังงาน ในรูปแบบปัจจุบัน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติได้แล้ว การที่เราจะพึ่งพาพลังงานทดแทนเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็สามารถทำได้เลย  ลงมือได้เลย คุ้มทุน ผมยืนยันว่าเราพึ่งพาได้”  อาจารย์อุสาห์ ยืนยันอย่างมั่นใจ

 

รูปแบบพลังงานที่เหมาะสมสำหรับชุมชนเกาะยาวน้อย

จากการศึกษารูปแบบการผลิตและการใช้พลังงานที่เหมาะสมในพื้นที่ชุมชนเกาะยาวน้อยพบว่าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทนที่เหมาะสมสำรับครัวเรือน บ้านอยู่อาศัย กิจการขนาดเล็ก โดยควรเป็นการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อใช้งานในช่วงกลางวัน ส่วนในช่วงเวลาอื่นนั้นควรใช้ไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้าปกติ 

ในแนวทางนี้จะทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าในช่วงกลางวันที่มีพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้อัตราค่าพลังงานเฉลี่ยลดลงจาก 3.82 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ลดลงเหลือ 2.94 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง

จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากชุมชนที่ได้มา ข้อเสนอะแนะเรื่องหนึ่ง คือ การผลิตไฟฟ้าจากขยะบนเกาะยาวน้อย  เกาะยาวน้อยควรมีโรงคัดแยกขยะสำหรับการคัดแยกขยะ โดยสามารถแยกขยะอินทรีย์และขยะที่ไม่ย่อยสลายออกจากกัน โดยส่วนที่เป็นขยะอินทรีย์นำไปผลิตปุ๋ย  ขยะพลาสติกสามารถนำไปผลิตเป็นน้ำมันจากขยะได้

จากการศึกษาพบรูปแบบการผลิตและการใช้พลังงานที่เหมาะสมในพื้นที่ชุมชนเกาะยาวน้อยพบว่าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทนที่เหมาะสมสำรับครัวเรือน บ้านอยู่อาศัย กิจการขนาดเล็ก โดยควรเป็นการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อใช้งานในช่วงกลางวัน ส่วนในช่วงเวลาอื่นนั้นควรใช้ไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้าปกติ 

ในแนวทางนี้จะทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าในช่วงกลางวันที่มีพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้อัตราค่าพลังงานเฉลี่ยลดลงจาก 3.82 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ลดลงเหลือ 2.94 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง

จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากชุมชนที่ได้มา ข้อเสนอะแนะเรื่องหนึ่ง คือ การผลิตไฟฟ้าจากขยะบนเกาะยาวน้อย  เกาะยาวน้อยควรมีโรงคัดแยกขยะสำหรับการคัดแยกขยะ โดยสามารถแยกขยะอินทรีย์และขยะที่ไม่ย่อยสลายออกจากกัน โดยส่วนที่เป็นขยะอินทรีย์นำไปผลิตปุ๋ย  ขยะพลาสติกสามารถนำไปผลิตเป็นน้ำมันจากขยะได้

EvKCjAGPPnLnbWiihDHVMnT7qAxyJlL7yKSV1Fbb laAEJ0 Hvlu BW1Oud0xtg18xNizH4 v3pgXDXy7cz2Fse0uhrCobOmS7oO0DFrCYriA05MsoaCFCx7jOxm2fRN 1

แนวทางการบริหารจัดการขยะบนเกาะยาวน้อย  ควรเลือกการกำจัดขยะตั้งแต่แหล่งกำเนิด และลดการพึ่งพาการส่งขยะไปกำจัดบนภาคพื้นดิน   จากการรายงานการเก็บขยะของเกาะยาวน้อย พบว่ามีขยะพลาสติกประมาณ 1,500 กิโลกรัมต่อวัน  ในขณะที่พบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะ พบว่าพลังงานไฟฟ้าที่ไม่มีเสถียรภาพ กรณีที่เกิดไฟตก อาจทำให้เครื่องจักรเสียหาย และปริมาณไฟฟ้าไม่เพียงพอใช้งาน กรณ๊เกิดไฟฟ้าดับ  ส่งผลกระทบต่อการเดินเครื่องจักรในโรงงานขยะ

สำหรับการผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติก ปัจจุบันระบบแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันบนเกาะยาวน้อยไม่ได้ถูกใช้งานและไม่ได้รับการบำรุงรักษามาเป็นเวลานาน  ควรมีการตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อสามารถซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล อุปกรณ์ต่างๆของโครงสร้างของโรงไฟฟ้าเพื่อให้โรงงานผลิตไฟฟ้าใช้งานได้

382)

แผนที่พลังงานไม่ใช่จุดสิ้นสุด แต่เป็นจุดเริ่มต้นให้ทุกคนหันกลับมาตระหนักถึงการใช้พลังงานของตนเองเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  โครงการเกาะพลังงานสะอาดแม้จะจบโครงการในปีพ.ศ 2563 แต่สำหรับประเด็นเรื่องความยั่งยืน การพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต 

โพธิ์ศรีประเสริฐ 01

อาจารย์ประยงค์  โพธิ์ศรีประเสริฐ  ผู้จัดการโครงการเกาะพลังงานสะอาด กล่าวว่า “ เราพบว่าชาวบ้านที่นี่ดูแลตนเองได้มาตลอด  การที่มีคนนอกเข้ามาก็เป็นการแค่สะกิดเตือน ชวนให้คิด  ชาวบ้านตัดสินใจด้วยตนเอง เขาไม่ได้เชื่อเรา(โครงการ)เพราะเรารู้ดีกว่าเขา แต่เขาเชื่อเราเพราะว่าเขาคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเขา เป็นความรู้สึกจากที่ผมสัมผัสได้จากผู้นำชุมชน เป็นลักษณะที่เราเห็นเด่นชัดมากที่เกาะยาวน้อยนี้  ถ้าภาครัฐหรือผู้เกี่ยวข้องเข้าใจ ให้โอกาสชาวบ้านได้พัฒนาตัวเองไปตามธรรมชาติ”