01

ชื่อของ เกาะยาวน้อย มาจากการเรียกของคนท้องถิ่น ว่า “เกาะยาวนุ้ย” หรือ “เกาะนุ้ย” (นุ้ย หมายถึง เล็ก ) พื้นที่เกาะส่วนใหญ่เป็นภูเขาทอดยาวตามแนวเหนือใต้ ทางด้านตะวันออกมีที่ราบริมชายฝั่งทะเล ที่ราบตามหุบเขา ชาวเกาะยาวน้อยจึงมีอาชีพทำการเกษตร เช่น ทำสวนยาง สวนมะพร้าว สวนมะม่วงหิมพานต์ ส่วนชายฝั่งรอบเกาะเหมาะแก่การประกอบอาชีพประมงขนาดเล็กรวมทั้งมีชายหาดที่สวยงามและอยู่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

พื้นที่ของเกาะยาวน้อยมีอาณาเขตติดต่อได้หลายทิศทางดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ่าวพังงา น่านน้ำ จ.กระบี่ ทิศใต้ติดต่อกับทะเลอันดามัน ทิศตะวันออกติดต่อกับหมู่เกาะและน่านน้ำ จ.กระบี่ ทิศตะวันตกติดต่อกับน่านน้ำ จ.ภูเก็ต

Pic เกาะยาวน้อย 01 01 1

พลเมืองที่อยู่อาศัยอยู่บนเกาะยาวน้อยเล่าสืบมาว่า เป็นผู้ที่อพยพมาจากเมืองตรัง ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 99% ในตำบลเกาะยาวน้อยมีประชากรรวม 4,490 คน แบ่งเป็นชาย 2,303 คน และหญิง 2,187 คน มีจำนวนบ้านอยู่ 2,028 หลัง (จากข้อมูลรายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี 2562)

01
Pic เกาะยาวน้อย 3 01
Pic เกาะยาวน้อย 4 01
Pic เกาะยาวน้อย 5 01

check icon 01 วิวป่าเกาะ เป็นหมู่เกาะหินปูน ที่ตั้งอยู่ทางทะเลฝั่งตะวันออกของเกาะยาวน้อยเช่น เกาะห้อง , เกาะลาดิง, เกาะผักเบี้ย ซึ่งเมื่อมองจากฝั่ง เกาะยาวน้อยเราจะเห็นหมู่เกาะเหล่านี้เรียงรายกันสวยงามสมดุจดังภาพวาด ยิ่งในช่วงเช้าตรงจุดนี้จะเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงาม ที่สุดบนเกาะยาวน้อย

check icon 01 บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ บ่อน้ำจืดในทะเลที่เมื่อเวลาน้ำทะเลขึ้น จะไม่ปรากฏให้เห็นแต่พอน้ำทะเลลดลงจนแห้งจะปรากฏเป็นน้ำจืดผุดขึ้นมาแทน

Pic เกาะยาวน้อย 6 01
Pic เกาะยาวน้อย 7 01

check icon 01 เกาะผักเบี้ย เกาะเล็กๆที่มีน้ำทะเลใสสะอาด บรรยากาศร่มรื่นมีต้นไม้น้อยใหญ่อยู่ริมหาด เหมาะกับการเล่นน้ำ

Pic เกาะยาวน้อย 8 01
Pic เกาะยาวน้อย 9 01

check icon 01 เกาะหัวใจพญานาค จุดชมวิวหัวใจพญานาคที่มีป่าเกาะเรียงรายซ้อนกันจนมองดูเห็นเป็นรูปหัวใจอยู่กลางทะเล

check icon 01 กระชังเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กิจกรรมลงทะเลเพื่อเรียนรู้การลงอวนกุ้ง อวนปู การเลี้ยงปลา

check icon 01 ชุมชนท่องเที่ยวบ้านท่าเขา พื้นที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวในลักษณะการท่องเที่ยวโดยชุมชน กิจกรรมที่โดดเด่นของบ้านท่าเขาคือ กิจกรรมผ้าบาติกที่นักท่องเที่ยวได้ลงมือวาดลายเส้นเทียนและลงสีด้วยตนเอง และสามารถซื้อฝากเป็นที่ระลึกได้

check icon 01 เกาะเหลาลาดิง เป็นเกาะที่เป็นที่พักอาศัยของกลุ่มสัมปทานเก็บรังนกแต่ก็ยังเปิดเกาะให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมและพักผ่อน ภายในเกาะนั้นมีหาดทรายละเอียดให้เล่นน้ำได้อย่างเพลิดเพลินและมีแนวชายหาดเล็กๆ อยู่บนเกาะ ทั้งยังมีน้ำทะเลที่ใสสะอาดเหมาะแก่การลงเล่นน้ำ

ผู้คนและการทำมาหากิน

ชาวบ้านบนเกาะยาวน้อยส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและมีอาชีพประมง ค้าขาย ปลูกยางพารา เกาะยาวน้อยมีพื้นที่หลายส่วนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่โซนชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม ป่าสงวน ป่าชายแลน และรอบเกาะยังมีพื้นที่สำหรับเลี้ยงปลา จากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทำให้ชาวเกาะยาวน้อยสามารถเลือกช่องทางทำกินได้หลากหลาย

Pic เกาะยาวน้อย 10 01
Pic เกาะยาวน้อย 11 01
Pic เกาะยาวน้อย 12 01

การเกษตร

การทำนาปลูกข้าว สวนมะพร้าว สวนมะม่วงหิมพานต์ สวมปาล์ม เป็นอาชีพหลักอาชีพหนึ่งของชาวเกาะยาวน้อย

การประมง

เป็นการประมงขนาดเล็ก การจับสัตว์น้ำ ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก โดยใช้เครื่องมือขนาดเล็กและมีการใช้เครื่องมือแบบเก่าอยู่ ชาวประมงคนเกาะยาวใช้ชีวิตที่พึ่งพาธรรมชาติ และคอยดูแลธรรมชาติไปพร้อมกัน ชาวเกาะยาวน้อยทําประมงพื้นบ้านที่ทําแบบ “พออยู่ พอกิน” ไม่จับสัตว์น้ำในปริมาณที่มากเพียงเพื่อนําไปขาย เช่น หากปูที่จับขึ้นมาได้ มีไข่ติดอยู่ ชาวบ้านที่นี่จะนําปูไปปล่อยคืนกับธนาคารปูเพื่อนําไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ เป็นเรื่องของการเห็นความสําคัญของทรัพยากรมากกว่าเงิน หลังจากมีกฎหมายประมงเข้ามาบังคับใช้ทำให้เรือประมงต้องมีขนาดไม่เกิน 10 เมตร และเรือประมงก็ถูกห้ามนํามาใช้เพื่อการท่องเที่ยวแต่ชาวบ้านทุกคนก็ให้ความเคารพต่อกฎหมาย และปฎิบัติตามกฎหมายกำหนด วิถีชีวิตชาวประมง วิถีชีวิตของคนเกาะยาวน้อยมีอาชีพประมง บรรพบุรุษจึงได้คิดค้นเครื่องมือประมงพื้นบ้าน เช่น การทำโป๊ะน้ำ ตื้น การทำลอบดักปลา โดยใช้ตะกร้าไว้ใส่สัตว์น้ำและสืบทอดภูมิปัญญาต่างๆไว้ ตลอดจนเทคนิคการทำไซที่แตกต่างกันในการจับสัตว์น้ำแต่ละชนิดและการวางไข่ในระดับน้ำที่แตกต่างกัน การดูคลื่นลม เช่น ดูทิศทางการหมุนของลมมรสุม การขับเรือชาวประมงพื้นบ้านไม่มีเข็มทิศนำทางในการเดินเรือ

Pic เกาะยาวน้อย 13 01
Pic เกาะยาวน้อย 24 01
Pic เกาะยาวน้อย 14 01

การปศุสัตว์

เป็นการเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค กระบือ แพะ

Pic เกาะยาวน้อย 15 01
Pic เกาะยาวน้อย 16 01
Pic เกาะยาวน้อย 17 01

การบริการและท่องเที่ยว

เกาะยาวน้อยมีบรรยากาศที่เงียบสงบและเป็นธรรมชาติ และมีวิถีชุมชนที่เรียบง่ายทำให้เกิดการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์ธรรมชาติและวิถีชุมชน ทำให้เกิดธุรกิจมากมาย การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ การท่องเที่ยวเชิงชุมชนมีการขยายมากขึ้นในปัจจุบันทำให้เกิดธุรกิจมากขึ้น อาทิ “ชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดย ชุมชนชาวเกาะยาวน้อย ” นับว่าเป็นกลุ่มโฮมสเตย์ที่มีชื่อเสียงและมีการจัดการที่ดี จนได้รับรางวัลมามากมาย ที่ผ่านมาเกาะยาวน้อยเคยเกิดวิกฤติทรัพยากรในปีพ.ศ. 2530 – 2535 มีเรือพาณิชย์เข้ามาทำลายทรัพยากรหญ้าทะเล ปะการังและสัตว์น้ำวัยอ่อน ส่งผลกระทบ ต่ออาชีพประมงพื้นบ้าน ต่อมาปีพ.ศ 2538 มีการรวมตัวกันรณรงค์ และช่วยรัฐปราบปรามสร้างจิตสำนึกภายในชุมชน จนปีพ.ศ. 2540 เรือเหล่านั้นเริ่มถอยออกไปทำให้ทรัพยากรดีขึ้น คนสนใจมาดูงานและเรียนรู้เรื่องการจัดการ ชาวบ้านจึงใช้โอกาสนี้สร้างรายได้ให้กับชุมชนในรูปแบบการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ จึงเกิดการตั้งกลุ่มชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยชุมชนชาวเกาะยาวน้อยขึ้นมา

Pic เกาะยาวน้อย 18 01
Pic เกาะยาวน้อย 19 01
Pic เกาะยาวน้อย 20 01

ผ้าบาติก สินค้า OTOP ชุมชนบ้านท่าเขา

เป็นกลุ่มท่องเที่ยวอาชีพเกษตรกลุ่มแรกของจังหวัดที่ผลิตผ้าบาติกจำหน่าย และสอนให้นักท่องเที่ยวทำเอง เพื่อนำกลับไปเป็นของที่ระลึก ซึ่งผ้าบาติกที่ผลิตจะเลือกใช้ผ้าเลยอง ผ้าไหมอินโด และผ้าป่านมัสลิน โดยนำมาย้อมสีตามความนิยมของผู้บริโภค ลวดลายของผ้าบาติกมักจะเน้นลายธรมชาติใต้ท้องทะเล ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเกาะยาวน้อย ซึ่งลายผ้าบาติกแต่ละผืนสมาชิกจะต้องอาศัยความชำนาญและใช้ความประณีต จึงจะได้ผ้าบาติกที่สวยงาม เหมาะกับการทำเป็นผ้านุ่งสำหรับสตรี เสื้อเชิต และ ผ้คลุมไหล่ 

Pic เกาะยาวน้อย 21 01
Pic เกาะยาวน้อย 22 01
Pic เกาะยาวน้อย 23 01

วิถีชีวิตไทยมุสลิม

วิถีชีวิตแบบชาวไทยมุสลิม อิสลามเป็นศาสนาที่มีคำสอนเคร่งครัดตายตัวมีระเบียบแบบแผนให้ผู้นับถือยึดมั่นอยู่ในศีล ทำความดี ความรักเพื่อนมนุษย์ วิถีชีวิตของคนเกาะยาวน้อยเป็นชุมชนมุสลิมที่มีการประพฤติตามกฎระเบียบที่เป็นไปตามกฎศาสนาอิสลามที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตประจำวันของคนในชุมชน เช่น การละหมาดที่เป็นการแสดงออกถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมกับพระเจ้า ทั้งเป็นการขอบคุณ ขอขมาและสรรเสริญพระองค์